วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564


 ไคโตซาน (chitosan) คืออะไร

ไคโตซานเป็นสารพอลิเมอร์ธรรมชาติที่สกัดได้จากไคตินที่พบในเปลือกกุ้ง กระดองปู และแกนปลาหมึก เป็นต้น โดยมี หมู่อะมิโนที่แสดงสมบัติในการละลายได้ในกรดอินทรีย์เจือจาง สามารถจับกับไอออนของโลหะได้ดี และสารมีฤทธิ์ทาง ชีวภาพ ปัจจุบันมีการนำไคโตซานไปประยุกต์ใช้มากมาย เนื่องจากสมบัติพิเศษหลายประการของไคโตซาน ได้แก่ ความไม่เป็นพิษ มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ (biocompatibility) เสื่อมทางชีวภาพ (biodegradable) และไม่ก่อให้เกิด อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ไคโตซาน (chitosan) เป็นสารธรรมชาติที่รู้จักกันมานานกว่า 100 ปีแล้ว แต่ไม่ได้มีการศึกษาเพื่อนำมาใช้ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2518 ได้มีการรวมตัวกันของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เพื่อศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของสารตัวนี้ ซึ่งคุณสมบัติพื้นฐานของไคโตซาน ที่นักวิทยาศาสตร์ต่างศึกษาออกมาได้ผลตรงกัน คือ ไคโตซานเป็นสารที่มีประจุบวก สามารถดักจับไขมันต่างๆที่เป็นประจุลบได้ โดยมีการทดลองใช้สารไคโตซานครั้งแรกในการบำบัดน้ำเสียแบบชีวภาพที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งหลังจากนั้นไคโตซานก็ได้เข้าไปมีบทบาทในวงการอุตสาหกรรมหลายสาขา และศาสตราจารย์ C.Rouget เป็นผู้ค้นพบไคโตซานครั้งแรกเมื่อ ค. ศ. 1859 โดยการต้มไคตินกับสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ เข้มข้น ซึ่งได้สารที่มีสมบัติแตกต่างจากไคติน คือสามารถละลายได้ในสารละลายอินทรีย์เจือจาง และต่อมาในปี 1894 Hoppe-Seiler ได้ตั้งชื่อเป็น ไคโตซาน

ไคโตซานมีขนาดโมเลกุลที่ใหญ่มากทำให้ไม่ถูกดูดซึม แต่จะถูกขับถ่ายออกมาก นอกจากการจับไขมันแล้ว ไคโตซานยังมีคุณสมบัติที่ช่วยจับพวกโลหะหนัก ซึ่งมาจากฝุ่นไอเสียรถยนต์ ยาฆ่าแมลง และ สีผสมอาหาร ได้เป็นอย่างดี วงการเภสัชกรรมจึงได้ใช้คุณสมบัติในการดักจับไขมันในทางเดินอาหารของไคโตซาน มาใช้ในการรับประทานเพื่อลดน้ำหนัก คอเลสเตอรอล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น